Bantoday.com
  • หน้าแรก
  • ค้นหาประกาศ
  • โครงการใหม่
  • ฝากขายทรัพย์
  • ข่าว/บทความ
  • ถามกูรู
  • ค้นหาตัวแทน

เกณฑ์พิจารณาสินเชื่อบ้านยังมี “ก๊อก 2”

เมื่อ 8 ก.พ. 2562 อ่าน 6 ครั้ง

งานสัมมนาประจำปีของ 3 สมาคมวงการอสังหาริมทรัพย์ หัวข้อ “แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจ ตลาดเงิน ตลาดทุน ผลกระทบต่อตลาดอสังหาฯ ในปี 2562” แขกรับเชิญ “นายนริศ สถาผลเดชา” ผู้บริหารศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี (TMB Analytics) ธนาคารทหารไทย กล่าวว่า เศรษฐกิจโลกพีกไปแล้ว ทำให้ 1-2 ปีหน้าแนวโน้มชะลอตัวลง

โฟกัส “จีน” ชะลอตัวจากที่เคยโต 12% ล่าสุดแนวโน้มปี 2562 จีดีพีจีนอยู่ที่ 6.2% ซึ่งลูกค้าจีนซื้ออสังหาริมทรัพย์ไทย 23.6% จากลูกค้าต่างชาติซื้อในภาพรวม 27% ของตลาดรวม ในขณะที่ปีนี้กำลังซื้อลูกค้าจีนมีโอกาสถดถอยลง

ปัจจัยจากแนวโน้มภาคเกษตร ปี 2562 พืชเศรษฐกิจประเมินไว้ 7.72 แสนล้านบาท แนวโน้มรายได้ภาคเกษตรยังบวก 2.5% มี 5 รายการหลัก คือ ข้าว ยาง อ้อย ปาล์ม มันสำปะหลัง จะเห็นว่ามีเพียง “ข้าว-มัน” ที่ยังไปได้

เหลียวดูตลาดต่างจังหวัด ถอดรหัสจากสินเชื่อโพสต์ไฟแนนซ์ (สินเชื่อรายย่อย) กระจุกตัวชลบุรี ระยอง สุราษฎร์ฯ เชียงใหม่ โดยช่วง 3 ปีที่ผ่านมา จังหวัดสินเชื่อเติบโตดีกระจุกอยู่ในภาคอีสาน แม้ว่าวงเงิน-จำนวนโครงการไม่เยอะ โดยจังหวัดที่มีอัตราเติบโตสินเชื่อรายย่อย อาทิ บุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ บึงกาฬ กระบี่ พังงา พัทลุง ฯลฯ

สำหรับดอกเบี้ยนโยบายโอกาสขึ้นน้อยลง อย่างมากขึ้นอีก 1 ครั้ง ไม่เกิน 25 basis piont (25%) ในขณะที่เงินฝาก 7 ล้านล้านบาท ฝากประจำแค่ 40% ออมทรัพย์ 60% แต่ดอกเบี้ยออมทรัพย์แค่ 50 สตางค์ สะท้อนแนวคิดการบริหารจัดการด้านการเงินคนไทยกับคำถามว่า โอกาสที่จะมีดอกเบี้ยนโยบายจาก 3 ปี เป็น 10 ปี มีหรือไม่ คำตอบคือ แบงก์ต้องจัดระเบียบ balance sheet เดิมเคยแข่งกันให้ดอกเบี้ยคงที่ 3 ปี ล่าสุดเหลือแค่ปีเดียว แสดงว่าการแข่งขันอยู่ในมือแบงก์ ดอกเบี้ยคงที่ยาว 10 ปี จึงเป็นเรื่องทำได้ยาก

ภาระหนี้สินเชื่อผู้ประกอบการ (พรีไฟแนนซ์) ปี 2016-2017 เติบโตดีมาก แต่ปี 2018 ไม่โตขึ้นเลย เพราะบริษัทหันไปออกพันธบัตร กู้ระยะกลางถูกกว่ากู้ระยะสั้น บวกกับเรตติ้ง AAA จ่ายแค่ 0.25% นั่นคือดอกเบี้ยถูกมาก ด้าน NPL (หนี้เสีย) ก็ค่อยๆ ดีขึ้น

กระทั่งปัจจุบันเริ่มมีการออกหุ้นกู้เยอะ ดอกเบี้ย 0.75% ต้นทุนการทำไม่ดึงดูดเหมือนเดิม ทางเลือกจึงเป็นหันมาหาเงินกู้แบงก์อีกรอบ “ดร.นริศ” ระบุด้วยว่า มาตรการ LTV-loan to value ของแบงก์ชาติมาจากแนวโน้มหนี้เสีย หรือ NPL ภาคอสังหาฯ เพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 3.5% สูงกว่าหนี้เสียของสินเชื่อส่วนบุคคล (บัตรเครดิต) กับสินเชื่อรถยนต์

DTI-debt to income หนี้สินต่อรายได้ เคยเกิน 50% ล่าสุดสมาคมธนาคารไทยกำลังคุยกันเรื่องมาตรฐานการพิจารณาสินเชื่อ โฟกัส DTI (เดือนมิถุนายน) ซึ่งจะเข้มข้นมากขึ้น

นี่คือปัจจัยกระทบอีก 1 เรื่องที่อสังหาฯต้องเตรียมตัวเผชิญในช่วงครึ่งปีหลัง

 

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ

8 กุมภาพันธ์ 2562

ลงประกาศฟรี
ลงทะเบียน

ค้นหาอสังหาริมทรัพย์

ประเภทสินทรัพย์

ที่ดิน

บ้านเดี่ยว

ทาวน์โฮม ทาวน์เฮ้าส์

คอนโดมิเนียม

อพาร์ทเมนท์

อาคารพาณิชย์

โรงแรม รีสอร์ท

อาคาร พื้นที่สำนักงาน

โรงงาน คลังสินค้า

อื่นๆ

ทำเลยอดนิยม

กรุงเทพมหานคร

นนทบุรี

ปทุมธานี

เชียงใหม่

ชลบุรี

เกี่ยวกับเรา

เกี่ยวกับเรา

กฏกติกา

นโยบายการให้บริการ

อัตราค่าพื้นที่โฆษณา

การชำระเงิน

ติดต่อเรา

Bantoday.com

1/36 ถนนนวลจันทร์ แขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ 10230

โทร. 084-522-7000 Fax. 02-509-3949

Email : bantoday.com@gmail.com

สงวนลิขสิทธิ์ © 2559 Bantoday.com

Design By ScriptWeb2U